ลดปริมาณการใช้กระดาษ = ลดโลกร้อน
ปัจจุบันคนไทยใช้กระดาษเฉลี่ยปีละ 3.9 ล้านตัน หรือคนละประมาณ 60 กิโลกรัม/ปี และเพื่อสนองความต้องการใช้กระดาษต้องตัดต้นไม้ถึง 66.3 ล้านต้น/ปี หรือเท่ากับว่าทุก ๆ นาที จะต้องตัดต้นไม้จำนวนกว่า 130 ต้น แต่เรายังมีทางเลือกคือ การผลิตกระดาษทดแทนด้วยกระบวนการ Recycle สามารถช่วยลดมลพิษทางอากาศได้ถึง 74% รวมถึงปริมาณการใช้น้ำในการผลิตก็ลดลง โดยกระดาษเก่า 1 ตัน สามารถทดแทนการตัดต้นไม้เพื่อทำเป็นกระดาษได้ถึง 15 ต้น
หากคนไทยทุกคนใช้กระดาษอย่างประหยัด โดยการใช้กระดาษทั้ง 2 หน้า จะช่วยรักษาชีวิตต้นไม้ได้ถึง 1.3 ล้านต้น หากคนไทยทุกคนหันมาใช้ผ้าเช็ดหน้าแทนการใช้กระดาษทิชชู เพื่อจะช่วยรักษาชีวิตต้นไม้ได้ 3,315,000 ต้น กระดาษมีส่วนสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งมีความต้องการใช้กระดาษมากขึ้นเท่าใด เราก็ต้องตัดต้นไม้ หรือถากถางพื้นที่ป่า เพื่อปลูกต้นไม้ให้โตเร็วสำหรับนำเยื่อไม้มาทำกระดาษมากขึ้นเท่านั้น แต่ทุกวันนี้คนไทยใช้กระดาษเฉลี่ยคนละ 60 กิโลกรัม/ปี และมีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยทั่วประเทศมีความต้องการกระดาษทุกชนิดรวมกัน ประมาณ 3.25 ล้านตัน/ปี ในขณะที่มีกำลังผลิต 4 ล้านตัน/ปี ในกระบวนการผลิตกระดาษ 1 ตัน ต้องใช้ต้นไม้มากถึง 17 ต้น ใช้กระแสไฟฟ้ามากถึง 4,100 กิโลวัตต์/ชั่วโมง ใช้น้ำถึง 31,500 ลิตร และปล่อยคลอรีนที่ใช้ในการฟอกกระดาษเป็นของเสียกว่า 7 กิโลกรัม นั่นหมายความว่า ในการตอบสนองความต้องการในการใช้กระดาษของคนไทยให้เพียงพอนั้น เราต้องตัดต้นไม้ถึงปีละประมาณ 55 ล้านต้น
ดังนั้น ในทางที่ดีควรจะมีการนำกระดาษที่ใช้แล้วมาหมุนเวียนผลิตกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ยกตัวอย่าง เช่น การรวบรวมเศษกระดาษใช้แล้ว ในสำนักงาน และบ้านเรือน โดยแยกแยะเศษกระดาษเหล่านี้ออกจากขยะชนิดอื่น ๆ เพื่อสะดวกในการจัดเก็บ และนำกลับไป Recycle เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ
อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยในการลดปริมาณการใช้กระดาษให้น้อยลง คือ การเปลี่ยนงานเอกสารในรูปแบบกระดาษให้เป็นระบบดิจิทัล หรือ Paperless ซึ่งตอบโจทย์คนรักษ์โลกให้เดินควบคู่ไปกับการทำธุรกิจให้มีประสิทธิภาพได้ และยังสามารถลดต้นทุนทางธุรกิจลงได้อีกด้วย
ดังนั้น ถึงเวลามาร่วมกันลดการใช้กระดาษ และมาสนับสนุนการทำงานแบบดิจิทัล เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดภาวะโลกร้อน ช่วยลดปัญหาของโลกจากภาวะการทำลายชั้นโอโซนที่นับวันยิ่งรุนแรงมากขึ้นกันดีกว่า
ใช้ช่องทาง อิเล็กทรอนิกส์ แทนการใช้กระดาษ
ส่งหนังสือ เผยแพร่ข้อมูล ความรู้อื่น ๆ โดยส่งข้อมูลผ่านทางช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง เช่น
- ใช้ระบบการประชุมแบบ paperless
- เอกสารการประชุมให้ใช้วิธีการ upload บนเว็บไซต์, ส่งทางอีเมล, บันทึกลงไดรฟ์, แฟลชไดรฟ์
- จัดส่งแบบรายงานทางอีเมล
- ส่งต่อหนังสือที่เร่งด่วนทาง group line / facebook หรือสื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ
- จัดเก็บสำเนาหนังสือออกด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (สแกน) แทนการถ่ายสำเนา
- ใช้วิธีการ share file ในสำนัก/กลุ่มงาน แทนการพิมพ์ และการทำสำเนา
ข้อดีของกระดาษรักษ์โลก
1. ช่วยลดต้นทุนการผลิต
กระดาษถือเป็นสิ่งที่ต้องติดสำนักงาน หรือออฟฟิศ โดยหลาย ๆ ออฟฟิศต้องจัดเตรียมกระดาษที่ต้องใช้ให้พร้อม จึงมีการลดต้นทุนในการสั่งซื้อ โดยการหันมาใช้กระดาษรักษ์โลกเพราะมีราคาที่ถูกกว่ากระดาษทั่วไปช่วยให้ประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อได้และยังช่วยในเรื่องของสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย
2. ลดการตัดต้นไม้
กระดาษทั่วไปจะใช้เยื่อจากต้นไม้ในการผลิตกระดาษ โดยการผลิตกระดาษในแต่ละครั้งต้องใช้ต้นไม้จำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้จะต้องทำการตัดต้นไม้ในจำนวนที่มากขึ้นเช่นกัน แต่กระดาษรักษ์โลกเป็นกระดาษที่ผลิตจากเยื่อกระดาษหมุนเวียนแทนการตัดต้นไม้ ซึ่งสามารถลดจำนวนในการตัดต้นไม้ได้อีกด้วย
3. ลดขยะที่เกิดจากกระดาษ
การผลิตกระดาษในแต่ละครั้งจะต้องใช้เชื้อเพลิงจำนวนมาก ทำให้ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม กระดาษที่ใช้แล้วถือเป็นขยะที่ยากต่อการกำจัด เพราะหากเอาไปเผาก็จะเกิดมลพิษทางอากาศได้ จึงได้ใช้วิธีนำกระดาษที่ไม่ใช้แล้วนำมาเป็นเยื่อหมุนเวียนเพื่อผลิตกระดาษนำกลับมาใช้ใหม่
สรุป
เราทุกคนควรใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น หันมาใช้กระดาษที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น โดยการใช้กระดาษที่ได้จากการใช้เยื่อหมุนเวียน เพื่อโลกของเราให้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น หากสนใจเปลี่ยนจากการใช้กระดาษ มาเป็นการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ สนับสนุน Paperless ก็ขอนำเสนอ แอปพลิเคชัน zDOX ระบบบริหารจัดการเอกสารออนไลน์ รับ-ส่ง เอกสารเพื่อลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature) จะช่วยให้การทำงานขององค์กรคุณง่ายขึ้น สะดวก ประหยัด และปลอดภัยสูง
ขอขอบคุณที่มา
- ประเมินโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์การมหาชน)
- http://203.157.123.7/bpkh/wp-content/uploads/2018/03/คู่มือการลดใช้กระดาษ.pdf
- โครงการกระดาษเพื่อต้นไม้ โดย มูลนิธิศูนย์สื่อเพื่อการพัฒนา