Categories: e-document

ทำความรู้จักลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (e-signature)

ทำความรู้จักลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (e-signature)

         e-signature หรือ Electronic Signature คือ ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ ใช้เพื่อยืนยันความถูกต้องของข้อมูลหรือเอกสาร ที่ถูกสร้าง และส่งผ่านทางออนไลน์ โดยที่ไม่ต้องใช้ลายเซ็นผ่านกระดาษหรือลายเซ็นด้วยมือ ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้ในหลายสถานการณ์ทางธุรกิจ ส่งผ่านช่องทางออนไลน์เพื่อเพิ่มความรวดเร็วประหยัดเวลา และปลอดภัย

ประเภทของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

ประเภทของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
เเบ่งออกเป็น 3 ประเภท

ประเภทที่ 1 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป

ประเภทที่ 2 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้

ประเภทที่ 3 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งใช้ใบรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรอง

      อย่างไรก็ตาม จะเลือกทำการลงลายมือชื่อประเภทไหนก็มีผลทางกฎหมายเหมือนกัน ต่างกันที่ความน่าเชื่อถือในการพิสูจน์หลักฐานทางกฎหมายที่ยุ่งยากไม่เท่ากัน โดยประเภทที่ต้องพิสูจน์มากไปน้อยจะเรียงลำดับตามนี้ ประเภทที่ 1,2,3 ตามลำดับ  ซึ่งจะเลือกใช้ประเภทไหนก็ขึ้นอยู่กับความสำคัญของธุรกรรมเอกสารว่ามีความสำคัญขนาดไหน

ลายเซ็นมีบทบาทอย่างไรในเชิงกฎหมาย​

       ลายเซ็นในเชิงกฎหมายมีความสำคัญมากๆ เนื่องจากเป็นหลักฐานทางกฎหมายที่ใช้ในการยืนยันความถูกต้องของเอกสาร และมีบทบาทสำคัญในหลายๆด้านของการทำธุรกรรมทางกฎหมาย ความสำคัญของลายเซ็นในเชิงกฎหมาย มีดังนี้

1.การยืนยันความถูกต้องของเอกสาร  ลายเซ็นเป็นหลักฐานที่ใช้ในการยืนยันว่าเอกสารได้รับการลงลายเซ็นโดยคนที่มีสิทธิ์ว่าเอกสารนั้นถูกต้อง และครบถ้วนตามที่ระบุในเอกสาร

2.สัญญาและข้อตกลง  ลายเซ็นใช้ในการยืนยันความถูกต้องและความสมบูรณ์ของสัญญา และข้อตกลงทางธุรกรรมต่างๆ ลายเซ็นของฝ่ายที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับความสัมพันธ์นั้น

3.สิทธิและการทำสัญญาทางกฎหมาย  ลายเซ็นใช้ในการยืนยันความถูกต้องของสัญญาทางกฎหมาย และในกรณีที่มีคดีความทางกฎหมาย เอกสารที่มีลายเซ็นจะเป็นหลักฐานที่สำคัญ

4.การลงลายเซ็นบนเอกสารทางกฎหมาย  เป็นเครื่องมือสำคัญในการยืนยันความถูกต้องและความสมบูรณ์ของเอกสาร ยกตัวอย่าง เช่น ทนายความบางครั้งต้องเช็คลายเซ็นเพื่อให้ความถูกต้องตามกฎหมาย

5.การป้องกันความละเมิดทางกฎหมาย  ช่วยป้องกันการละเมิดสิทธิทางกฎหมาย ที่สามารถนำไปใช้ในกระบวนการทางกฎหมายตามลำดับขั้นตอน

6.การลงลายเซ็นของหน่วยงานหรือองค์กร ลายเซ็นของหน่วยงาน หรือองค์กรสามารถให้ความรับผิดชอบในกรณีการทำธุรกิจ และธุรกรรมทางกฎหมายในนามขององค์กรนั้น ลายเซ็นเป็นหลักฐานของความรับผิดชอบทางกฎหมายขององค์กร

7.การควบคุมสิทธิของทรัพย์สิน  ลายเซ็นสามารถนำมาใช้ในการยืนยันความถูกต้องของเอกสารที่เกี่ยวกับสิทธิของทรัพย์สิน เช่น สัญญาขายซื้อที่ใช้ในการยืนยันความถูกต้องของการโอนทรัพย์สิน

8.ลายเซ็นในสัญญาประกัน  ยกตัวอย่างเช่น ประกันภัยใช้ลายเซ็นเพื่อยืนยันความถูกต้องของสัญญา ของผู้ประกัน เพื่อยืนยันความรับผิดชอบในการเคลมประกันตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามบริษัทนั้นๆ เป็นต้น 

e-Signature หรือ Digital Signature ใช้แบบไหนมีผลทางกฎหมาย?

      การลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้ง 2 แบบ มีผลทางกฎหมายมานานแล้ว และเลือกใช้แบบไหนก็ได้ ไม่ว่าจะทำธุรกรรมอะไรก็สามารถลงนามได้ด้วย ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) และลายเซ็นดิจิทัล (Digital Signature) โดยผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้ตามวัตถุประสงค์และพิจารณาตามความเสี่ยงของการนำไปใช้งาน

      ซึ่งลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ คือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบใด ๆ (กล่าวคือ เป็นอักษร ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์) ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในมาตรา 9 แห่งกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

ตัวอย่าง ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น

· การพิมพ์ชื่อไว้ท้ายเนื้อหาของอีเมล

· การพิมพ์ข้อความสั่งซื้อของทางแช็ต ที่เรามีการล็อกอินผ่าน username และ password ที่เป็นของเรา นั่นแปลว่า มีการลงลายมือชื่อของเราผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าเราตกลงซื้อสินค้าแล้ว

· การรับส่งเอกสารในระเบียบสารบรรณฉบับใหม่ มีการกำหนดให้ การใส่ชื่อหน่วยไว้ท้ายเนื้อหาของอีเมล ซึ่งถือเป็นบอกเจตนา และการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน

· การใช้งานแอปพลิเคชัน ถ้าอ่านข้อความ ข้อตกลง และเงื่อนไข (Terms and Conditions) และ กด “ยอมรับ / Accept” ถือเป็นการแสดงเจตนายอมรับการดำเนินการต่อตามที่ข้อความที่แจ้งทั้งหมด

      ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) หมายถึง ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จากกระบวนการเข้ารหัสลับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งช่วยให้สามารถยืนยันตัวเจ้าของลายมือชื่อและตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของข้อความลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ได้ ตัวอย่างลายเซ็นดิจิทัล เช่น ลายมือชื่อดิจิทัลแบบ XML Advanced Electronic Signatures (XAdES) ซึ่งใช้ในการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับไฟล์ XML

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก :

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA ข้อเสนอเเนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เเละการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

Phachira

Recent Posts

คุณต้องการ ECM จริงๆ เชื่อผมสิ!!

     ECM (Enterprise Content Management) คือ ระบบการจัดการเนื้อหาในองค์กรที่รวมเทคโนโลยีและกลยุทธ์เพื่อรวบรวม จัดการ จัดเก็บ และส่งมอบข้อมูลและเอกสารต่าง ๆ ภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัย ECM ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการกับข้อมูลจำนวนมากได้อย่างมีระบบระเบียบและสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย…

3 เดือน ago

การใช้ e-Signature ในประเทศไทย

การใช้ e-Signature ในประเทศไทย      คุณเคยเปิดบัญชีธนาคาร ซื้อบ้าน ซื้อรถ ทำสัญญาเงินกู้กับธนาคารเพื่อผ่อนทรัพย์สินชิ้นใหญ่ๆจดทะเบียนบริษัท ทำบัตรประชาชน จดทะเบียนสมรส หรือทำธุรกรรมใดๆ กับหน่วยงานรัฐ คงหนีไม่พ้นที่จะต้องลงลายมือชื่อบนเอกสารมากมาย   …

3 เดือน ago

กฎหมายเกี่ยวกับลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์จากทั่วโลก

กฎหมายเกี่ยวกับลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์จากทั่วโลก      กฎหมายลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย และความสะดวกในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้การดำเนินงานทั้งในภาคธุรกิจและภาครัฐเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส นอกจากนี้ ยังช่วยสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระยะยาว  กฎหมายลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ทั้ง 3 ประเภทจากทั่วโลก      กฎหมายที่รองรับลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกมีหลายฉบับที่สำคัญ…

5 เดือน ago

CARBON TAX ระเบียบการค้าในยุคใหม่

ภาษีคาร์บอน Carbon Tax ระเบียบการค้าในยุคใหม่        ปัจจุบันทั่วโลกหันมาให้ความสําคัญกับเรื่องความยั่งยืนและประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ (Climate Change) ที่นอกจากจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อวิถีชีวิตของเราทุกคนแล้ว ยังส่งผลเสียต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจอีกด้วย จนกลายเป็นจุดเปลี่ยนสําคัญให้ประเทศต่าง…

6 เดือน ago

ฝุ่น PM 2.5 มาจากไหน… zDOX ช่วยได้อย่างไร?

มารู้จัก ฝุ่น PM 2.5         PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน (ไมครอนเป็นหน่วยวัดละออง ใช้วัดค่าฝุ่นละออง)…

9 เดือน ago

กระดาษสำคัญอย่างไร

ลดปริมาณการใช้กระดาษ = ลดโลกร้อน           ปัจจุบันคนไทยใช้กระดาษเฉลี่ยปีละ 3.9 ล้านตัน หรือคนละประมาณ 60 กิโลกรัม/ปี และเพื่อสนองความต้องการใช้กระดาษต้องตัดต้นไม้ถึง…

9 เดือน ago

This website uses cookies.