You are currently viewing พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 10 และ 12
มาตรา 10 และ 12

พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 10 และ 12

กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เกี่ยวกับการใช้งาน e-Signature

กฎหมาย “ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) เป็นกฎหมายกลางที่รองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีผลผูกพันและใช้บังคับได้ตามกฎหมาย

ยกตัวอย่างกรณี พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 10 และ 12

มาตรา 10  (e-Original) รองรับเอกสารต้นฉบับ ซึ่งมีวิธีการที่เชื่อถือได้ในการรักษาความถูกต้อง
ของข้อความตั้งแต่ข้อความเสร็จสมบูรณ์และสามารถแสดงข้อความนั้นภายหลังได้ โดยความถูกต้องให้
พิจารณาถึงความครบถ้วนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดของข้อความ เว้นแต่การรับรองหรือบันทึกเพิ่มเติม
หรือการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตามปกติในการติดต่อสื่อสาร การเก็บรักษา หรือการแสดง
ข้อความซึ่งไม่มีผลต่อความถูกต้องของข้อความนั้น

มาตรา 12 (e-Archive) รองรับการเก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเอกสารต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลง
รวมถึงสามารถตรวจสอบได้ถึงขั้นตอน วันเวลาในการสร้าง ส่ง และจัดเก็บ เก็บไว้เมื่อไหร่กับใคร

การจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์สามารุตรวจสอบได้และถูกต้องตามกฎหมาย

ตัวอย่าง ตามเนื้อหาการ์ตูนพื้นที่เก็บเอกสารไม่พอในบริษัทแห่งนึง

จากเนื้อเรื่องที่ จุนคุยกับหัวหน้าฮง ว่า

  1. ประโยคที่ หัวหน้าฮง พูดว่า “เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มี Digital Signature เราสามารถตรวจสอบได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ตรงตาม มาตรา 10 พ.ร.บ. ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์” จะเป็นไปตามมาตรา 10 บัญญัติว่า * รองรับเอกสารต้นฉบับ ซึ่งมีวิธีการที่เชื่อถือได้ในการรักษาความถูกต้องของข้อความตั้งแต่ข้อความเสร็จสมบูรณ์และสามารถแสดงข้อความนั้นภายหลังได้ โดยความถูกต้องให้พิจารณาถึงความครบถ้วนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดของข้อความ เว้นแต่การรับรองหรือบันทึกเพิ่มเติม หรือการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตามปกติในการติดต่อสื่อสาร การเก็บรักษา หรือการแสดงข้อความซึ่งไม่มีผลต่อความถูกต้องของข้อความนั้น
  2. ประโยคที่ หัวหน้าฮง พูดว่า “ระบบมันปลอดภัยนะ ใครเป็นคนสร้างเอกสาร ใครเซ็น เซ็นเมื่อไหร่ ส่งเอกสารให้ใคร จัดเก็บไว้เมื่อไหร่ ระบบมันเช็คได้หมดเลย อีกอย่าง ตรงตาม มาตรา 12 พ.ร.บ. ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์” จะเป็นไปตามมาตรา 12 บัญญัติว่า * รองรับการเก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเอกสารต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลง รวมถึงสามารถตรวจสอบได้ถึงขั้นตอน วันเวลาในการสร้าง ส่ง และจัดเก็บ เก็บไว้เมื่อไหร่กับใคร